โรค FIP แมว โรคติดต่อแมว อันตรายถึงชีวิต ที่เหล่าทาสควรให้ความสำคัญมาก ๆ

โรค FIP แมว

อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันนี้นอกจากจะพบว่าผู้คนเจ็บป่วยด้วยโรคที่หลากหลายขึ้นแล้ว น้องแมวเองก็มีโรค หรืออาการเจ็บป่วยหลาย ๆ แบบเพิ่มขึ้นด้วย โดยโรคที่เกิดขึ้นกับแมวก็มีทั้งโรคที่ไม่รุนแรง แต่ก็มีบางโรคที่รุนแรงมากถึงขนาดสามารถคร่าชีวิตน้องแมวไปจากทาสอย่างเราได้เลย โดยเฉพาะ โรค FIP แมว ที่ตอนนี้ถือว่าอันตรายมาก ๆ และเหล่าทาสจำเป็นที่จะต้องรู้จักเอาไว้เลย เพื่อที่จะทำให้สามารถเฝ้าสังเกตอาการของน้องแมวได้ว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ 

FELINE CORONAVIRUS

โรค FIP แมว โรคติดต่อในแมวที่อันตราย และทาสมองข้ามไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด

โรค FIP แมว หรือ FELINE INFECTIOUS PERITONITIS เป็นโรคติดต่อในแมวที่จะเกิดการติดเชื้อมาจากที่ระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อมีการติดเชื้อจึงทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอักเสบขึ้นมา หากว่าการติดเชื้อเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อที่อวัยวะใดก็ตาม เชื้อจะต้องส่งผลเสีย และทำลายระบบนั้น ๆ ซึ่งโรคนี้จะพบได้บ่อยว่ามักจะมีการติดเชื้อที่บริเวณช่องอก, ตา หรือว่าระบบประสาท อย่างไรก็ตามโรคนี้มีสาเหตุหลักมากจากการที่น้องแมวติดเชื้อไวรัสโคโรน่าในแมว หรือ FCOV นั่นเอง

สำหรับการที่แมวติดเชื้อ FELINE CORONAVIRUS แล้ว ก็นับว่าเป็นอันตรายต่อชีวิตของน้องแมวมาก ๆ โดยเฉพาะในลูกแมวที่มีแนวโน้มว่าจะติดเชื้อไวรัสชนิดนี้มากเป็นพิเศษ ยิ่งลูกแมวต้องอาศัยรวมกันกับแมวตัวอื่น ๆ ด้วยแล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อก็จะมีสูงมากขึ้นไปอีก

อาการของแมวที่ป่วยเป็น โรค FIP แมว 

ในส่วนของอาการแมวที่เป็น โรค FIP แมว นั้น ช่วงเริ่มแรกอาการจะมีความคล้ายคลึงกับการเป็นโรคอื่น ๆ ของแมว โดยแมวบางตัวอาจจะมีอาการขึ้นมาแบบกะทันหัน สำหรับอาการที่เกิดขึ้นก็เป็นผลที่มาจากเรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาการของแมวที่เป็นโรคนี้ก็สามารถแบ่งได้ 2 แบบ ก็คือ แบบเปียก (EFFUSIVE FORM) และแบบแห้ง (NON- EFFUSIVE FORM) ทั้งนี้อาการทั้งสองแบบนี้จะไม่มีการแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนนัก แต่มักจะมารู้ในช่วงที่แมวแสดงอาการที่รุนแรงออกมาแล้ว

สำหรับแมวที่มีอาการแบบเปียก จะสามารถสังเกต และรู้ได้จากการที่ในช่องท้องของน้องแมวจะมีของเหลวสะสมอยู่ โดยเป็นผลที่เกิดขึ้นมาจากการอักเสบของหลอดเลือด ซึ่งจะสังเกตได้เลยว่าน้องจะมีช่องท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น และนอกจากนั้นก็จะมีอาการหายใจลำบาก, หายใจเร็ว และมีความผิดปกติของการเต้นที่หัวใจของน้องแมวด้วย อย่างไรก็ตาม อาจจะพบว่าน้องแมวบางตัวจะมีของเหลวที่ช่องอกด้วย 

FIP

ส่วนแมวที่มีอาการแบบแห้ง จะสามารถสังเกต และรู้ว่าน้องแมวติดเชื้อได้ยากกว่าแบบเปียก เนื่องจากว่าในช่องท้องของน้องแมวไม่ได้มีของเหลวสะสมอยู่ แต่อาจจะพบว่ามีก้อนผิดปกติเกิดขึ้นมาในช่องท้องแทน โดยเป็นก้อนที่เกิดขึ้นมาจากภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นร่วมกันกับสารประกอบบนผนังหลอดเลือด และยังประกอบเข้ากับเซลล์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย จึงทำให้เกิดเป็นกระบวนการอักเสบในท้องแมวขึ้นมานั่นเอง นอกจากนั้นก็จะมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่จำเพาะเกิดขึ้นด้วย เช่น ซึม, เบื่ออาหาร, ม่านตาอักเสบ ฯลฯ

แม้ว่าอาการของโรคนี้จะแบ่งออกได้เป็น 2 แบบก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ว่าน้องแมวจะมีอาการเพียงแบบเดียวเท่านั้น เพราะในแมวบางตัวก็สามารถแสดงอาการได้จากทั้งสองรูปแบบพร้อมกันเลย นอกจากอาหารทั้ง 2 แบบนี้แล้ว น้องแมวที่ป่วยเป็นโรคนี้ก็มักจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้, น้ำหนักลด, เบื่ออาหาร, ตัวร้อน, เหงือกมีลักษณะสีขาวซีดหรือมีสีเหลือง และอาจจะมีอาการอีกหลายอย่างเกิดขึ้น ทั้งนี้หากสงสัยในอาการที่น้องแมวเป็นแล้วไม่แน่ใจว่าเป็นโรคนี้หรือเปล่า ก็ควรรีบพาน้องไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน

ทาสแมวควรรู้ไว้ FIP แมว ติดต่อทางไหน บ้าง และจะรู้ได้อย่างไรว่าแมวติดเชื้อแล้ว

การติดเชื้อของ โรค FIP แมว จะเกิดขึ้นจากแมวสู่แมว แต่จะไม่ติดเชื้อมายังคน โดยส่วนใหญ่แล้วแมวที่มักจะติดเชื้อ ก็คือ แมวเด็ก หรือแมวที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี รวมถึงแมวที่มีปัญหาด้านระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งยังพบการติดเชื้อมากในน้องแมวที่เป็นเพศผู้ที่ยังไม่ได้เข้ารับการทำหมัน และแมวที่เป็นพันธุ์แท้ ปกติแล้วเชื้อไวรัสของโรคนี้จะมีการฟักตัวแตกต่างกันออกไปในแมวแต่ละตัว ซึ่งมักจะมีการฟักตัวตั้งแต่ระยะเวลาเป็นสัปดาห์ไปจนถึงระยะเวลาเป็นปีได้เลย หลังจากที่น้องแมวได้รับเชื้อมาแล้วในครั้งแรก

อย่างไรก็ตาม อันที่จริงแล้วเรื่องการติดต่อของเชื้อไวรัสในโรคนี้ ยังไม่ได้ทราบอย่างแน่ชัดว่ามีการติดต่อกันอย่างไร แต่เชื่อว่าการติดต่อเกิดการขึ้นมาจากการกลายพันธุ์ของเชื้อโคโรนาไวรัสจากลักษณะปกติที่มีความรุนแรงมากขึ้นในตัวแมว ซึ่งแมวแต่ละตัวก็ตอบสนองต่อเชื้อไวรัสไม่เท่ากัน ทั้งนี้หากว่าเชื้อไม่ได้มีการกลายพันธุ์ก็อาจจะทำให้น้องแมวไม่ได้เป็นโรคนี้ก็ได้ แต่อย่างไรแล้วการหลีกเลี่ยงไม่ให้น้องแมวเสี่ยงติดเชื้อก็ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ทั้งนี้หากจะรู้ได้ว่าแมวเป็นโรคนี้หรือไม่ ก็ต้องสังเกต และพาไปพบแพทย์

FCOV

วิธี รักษา FIP แมว จะต้องทำอย่างไร แล้วค่ารักษาแพงมากไหม

ปัจจุบันนี้การรักษา โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว ยังเป็นการรักษาแบบตามอาการ เพื่อช่วยพยุงอาการของน้องแมวเท่านั้นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการคิดค้น และพัฒนายาต้านไวรัสมาใช้ในแมวที่ป่วยเป็นโรคนี้กันอยู่ ซึ่งยาบางตัวก็รักษาได้ผล แต่ยาบางตัวก็ให้ผลการรักษาที่น่าพึงพอใจเลย แต่ทั้งนี้ก็แลกมากับราคายา และ ค่ารักษา FIP แมว ที่ค่อนข้างสูงเลย โดยมีแนวทางการรักษาโรค FIP ในแมว ก็มีดังนี้

  1. การให้ยากลุ่ม ANTIVIRAL DRUGS โดยยากลุ่มนี้จะมีกลไกการทำงาน 2 ประเภท คือ การออกฤทธิ์ต่อ CELLULAR MACHINERY ที่จะทำหน้าที่ในการขัดขวางการจำลองตัวของไวรัส และจะเป็นการออกฤทธิ์ต่อกลไกอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการจำลองตัว และการแพร่ของไวรัสด้วย ซึ่งนอกจากนั้นแล้วยากลุ่มนี้ยังช่วยลดการอักเสบให้กับแมวได้อีกด้วย
  2. การให้ยากลุ่ม ANTI-INFLAMMATORY และ IMMUNOSUPPRESIVE DRUGS เช่น ยา CYCLOPHOSPHAMIDE เป็นตัวยาที่นำมาใช้รักษาเพราะหวังว่าจะช่วยลดการอักเสบ และช่วยตอบสนองจากภูมิคุ้มกัน รวมถึงช่วยลดอาการทางคลินิก
  3. การให้ยากลุ่ม IMMUNE MODULATOR เป็นยากลุ่มที่จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นยากลุ่มที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเลย เพราะสามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นในแมวได้ดี ซึ่งจะให้ผลได้ดีมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับยาที่อยู่ในกลุ่ม CORTICOSTEROIDS 
  4. NON-SPECIFIC IMMUNOSTIMULANT DRUGS เป็นยากลุ่มที่ใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ซึ่งยาตัวนี้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมาร่วมทศวรรษแล้ว ยากลุ่มนี้สามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคนี้แบบแห้งได้ รวมถึงช่วยยืดระยะเวลาในการดำรงชีวิตของแมวได้ด้วย 
  5. การรักษาแบบพยุงอาการอื่น ๆ โดยการรักษาด้วยการพยุงอาการนี้ จะมีการรักษาในหลายรูปแบบ เช่น การเจาะดูดของเหลวออกมาจากช่องท้องที่อักเสบหากว่าแมวมีอาการแบบเปียก หรือการให้ยาปฏิชีวนะถ้าเกิดว่าน้องแมวมีอาการการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน รวมถึงยังมีการให้สารอาหาร หรือวิตามินบำรุงอื่น ๆ ที่เหมาะสมร่วมด้วย

FIP แมว ป้องกัน ได้อย่างไรบ้าง สิ่งที่ต้องรู้ไว้ เพื่อให้แมวห่างไกลจากโรคนี้

มาถึงในส่วนของการป้องกันน้องแมวให้ห่างไกลจาก โรค FIP แมว กันบ้าง เนื่องจากว่าปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการติดต่อกันของเชื้อนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร การป้องกันที่ดีที่สุดให้น้องแมวห่างไกลจากโรคนี้ได้ ก็คือ การรักษาความสะอาดภายในบ้าน หรือบริเวณที่น้องแมวอาศัยอยู่ รวมถึงจะต้องหมั่นทำความสะอาดกระบะทรายของแมวให้สะอาดอยู่เสมอด้วย อีกทั้งควรที่จะทำการวางชามอาหารของน้องแมวที่ป่วยแยกกับแมวที่ไม่ป่วยด้วย ที่สำคัญควรเลี้ยงแมวให้ไม่มีความเครียด และมีสุขภาพที่ดี

นอกจากที่จะต้องให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดแล้ว น้องแมวควรจะได้รับวัคซีนด้วย โดยเฉพาะลูกแมว หรือแมวที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี สำหรับวัคซีนที่ควรจะได้รับ ก็มี วัคซีนโรคหวัดแมว, วัคซีนไวรัสโรคไข้หัดในแมว และ วัคซีนไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมว ซึ่งสำหรับ วัคซีน FIP แมว ไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในวัคซีนหลักที่ลูกแมวควรฉีด หากว่าต้องการให้น้องแมวฉีดวัคซีนนี้ด้วย ก็จำเป็นต้องปรึกษา และตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ก็จะดีกว่า

แมวท้องใหญ่เกิดจากอะไร คือสัญญาณเตือนว่าเป็น โคโรน่าไวรัสในแมว หรือเปล่า

อาการท้องบวม หรือท้องใหญ่ในแมว จริง ๆ แล้วเป็นสัญญาณเตือนได้ในหลาย ๆ โรค รวมถึง โรค FIP แมว ด้วย โดยอาการที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเกิดขึ้นแบบฉับพลัน หรือแบบที่ค่อย ๆ แสดงอาการออกมาเรื่อย ๆ ทีละน้อย แต่ไม่ว่าจะมีอาการที่แสดงออกมามาก หรือน้อยแค่ไหนก็ตาม การที่แมวเข้าสู่ภาวะท้องป่อง ก็จะเป็นที่จะต้องรีบพาไปเข้ารับการรักษากับสัตวแพทย์ทันที เนื่องจากถือว่าเป็นอาการที่รุนแรง ซึ่งแมวควรได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างเร็วที่สุด guscats.com

อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่าน้องแมวของคุณเป็นโรค FIP หรือไม่ ก็ให้สังเกตจากอาการที่เป็น ถ้ามีอาการต่าง ๆ ตามที่กล่าวไว้ในข้างต้นก่อนหน้านี้ ก็ให้สงสัยไว้เลยว่าแมวของคุณอาจจะเป็นโรคนี้ก็ได้ ซึ่งไม่ควรรีรอว่าอาการจะดีขึ้น ควรรีบพาน้องแมวไปเข้ารับการตรวจรักษาทันทีตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที และไม่ทำให้น้องแมวด่วนจากเราไปโดยที่ไม่รู้ตัว

บทความเพิ่มเติ่ม