การ ทำหมันแมว มีขั้นตอนอย่างไร คลายความกังวลและความสงสัยของคนเลี้ยงแมว 

ทำหมันแมว

เมื่อคุณรับลูกแมวมาเลี้ยงสิ่งที่ต้องเตรียมไม่ใช่แค่สถานที่เลี้ยง การดูแลความสะอาด หรือแม้แต่อาหารการกินเท่านั้น การดูแลสุขภาพก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องดูแลเอาใจใส่ เมื่อลูกแมวอายุประมาณสัก 5-6 เดือนพวกเขาจะเริ่มมีอาการหง่าวหรือติดสัตว์ ซึ่งหากเป็นแมวตัวผู้พฤติกรรมของพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดไม่ว่าจะเป็นมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น เริ่มฉี่ไม่เป็นที่เป็นทาง อยากหนีออกจากบ้านอยู่เป็นประจำ หากคุณต้องการแก้ไขปัญหาดังกล่าววิธีการที่ดีที่สุดก็คือการ ทำหมันแมว นั่นเอง แต่เชื่อว่าคนเลี้ยงแมวหลายคนคงรู้สึกสงสารและเป็นกังวลไม่น้อย วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปดูกันว่าการทำหมันให้แมวนั้นมีขั้นตอนอย่างไรและการดูแลหลังจากนั้นต้องทำอะไรบ้างกัน 

เปิดขั้นตอนการ ทำหมันแมว อย่างละเอียด 

ทำหมันแมว
  • ก่อนทำหมันแมวสัตวแพทย์จะมีการตรวจความพร้อมสุขภาพร่างกายของแมวว่าสุขภาพแมวดีพอที่จะเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ อาจมีการตรวจเลือดเพื่อให้แน่ใจ ดังนั้นการทำหมันจึงอาจจะต้องพาแมวไปพบสัตวแพทย์อย่างน้อย 2-3 ครั้ง
  • หักผลทุกอย่างออกมาว่าแมวมีสุขภาพที่ดีสัตวแพทย์ก็จะตัดสินใจทำการผ่าตัดโดยเริ่มต้นจากการให้ยาสลบซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธีประกอบไปด้วยการฉีดหรือการดมยา 
ทำหมันแมว
  • ในกรณีที่อัณฑะของแมวอยู่ในถุงอัณฑะโดยปกติสัตวแพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็กบนถุงอัณฑะแล้วนำเอาก้อนอัณฑะทั้ง 2 ลูกออก แต่หากเป็นแมวที่ลูกอัณฑะไม่เคลื่อนลงมาอยู่ในจุดที่ถูกต้องหรือเลื่อนลงมาเพียงแค่ลูกเดียว สัตวแพทย์อาจจะต้องมีการเปิดแผลบริเวณหน้าท้องเพิ่มเติม 
  • สัตวแพทย์จะพิจารณาว่าแผลผ่าตัดมีขนาดใหญ่ไหมหากมีขนาดใหญ่อาจจะต้องใช้ไหมเย็บซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ดังนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วแผลผ่าตัดจึงมักจะมีขนาดเล็กและสัตวแพทย์จะใช้แผ่นปิดแผลธรรมดาทั่วไปปิดเอาไว้เท่านั้น หากมีการเย็บแผลจะมีการนัดตัดไหมภายในเวลา 2 สัปดาห์ 
  • หลังจากการผ่าตัดและการทำแผลเสร็จสิ้นลงเป็นที่เรียบร้อยแล้วสัตวแพทย์จะเปิดออกซิเจนเพื่อให้แมวฟื้นจากยาสลบในเวลาต่อมา 

ดูแลแมวหลังทําหมันแมวอย่างไรให้ปลอดภัยและสุขภาพดี

ทำหมันแมว

การทำหมันแมวเป็นการดูแลสุขภาพแมวอีกทางหนึ่งแต่ก็เป็นการผ่าตัดที่เราต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน หลังการผ่าตัดควรระมัดระวังไม่ให้แมวนั่งคอตกเนื่องจากอาจทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดได้ซึ่งเป็นผลมาจากฤทธิ์ของยาสลบ ไม่ควรรีบป้อนอาหารหรือน้ำทันทีหลังจากการผ่าตัดเนื่องจากแมวอาจจะยังไม่ฟื้นจากยาสลบอย่างเต็มที่และเป็นอันตรายได้ ควรสวมปลอกคอกันเลียอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ ในระหว่างช่วงพักฟื้นให้ติดตามสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมหรือแม้แต่บริเวณแผลผ่าตัดก็ตาม ไม่ควรให้แมวทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายมากจนเกินไป ให้ยาแมวตามที่สัตวแพทย์แนะนำและไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาด รักษาความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงแมวเป็นพิเศษ ห้ามให้แพ้สัมผัสกับน้ำ และพาแมวไปพบสัตวแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด 

อ่านบทความอื่นๆ: