โรคพิษสุนัขบ้า  โรคร้ายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่แมวก็สามารถเป็นได้ 

โรคพิษสุนัขบ้า  โรคร้ายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่แมวก็สามารถเป็นได้ 

       หมดจากช่วงฤดูหนาวไปเราก็จะเข้าสู่ฤดูร้อนกันแล้ว เป็นช่วงที่มีโรคอันตรายมักจะระบาดในช่วงนี้นั่นก็คือ โรคพิษสุนัขบ้า นั่นเอง โรคดังกล่าวนั้นอย่างที่เราทราบกันดีว่ามันเป็นโรคที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในสุนัขและสามารถติดต่อสู่มนุษย์ได้ทำให้คนที่ถูกสุนัขที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวกาดก็จะมีโอกาสติดเชื้อหากไม่ได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วน ความที่ชื่อของม้าในภาษาไทยมีคำว่าสุนัขทำให้คนหลายคนเข้าใจผิดว่ามันเป็นโรคที่พบเฉพาะในสุนัขและมนุษย์เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วโลกดังกล่าวนั้นสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไปไม่เว้นแม้กระทั่งแมวเช่นเดียวกัน วันนี้เราจึงจะพาทุกคนมาดูว่าโรคดังกล่าวนั้นเป็นอย่างไรและมีวิธีการป้องกันอย่างไรได้บ้าง

RABIES โรคร้ายที่อาจคร่าชีวิตแมวของคุณ 

       RABIES เป็นชื่อ โรคพิษสุนัขบ้า ในภาษาอังกฤษหรือในภาษาไทยที่เรารู้จักกันในอีกชื่อว่า โรคกลัวน้ำ  โรคดังกล่าวนั้นเป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้ผ่านทางน้ำลายอย่างเช่นการข่วน การกัด หรือการเลียบริเวณที่เป็นบาดแผล เชื้อไวรัสที่ปะปนอยู่ในน้ำลายนั้นก็จะสามารถเข้าสู่บริเวณบาดแผลได้ โรคดังกล่าวนั้นจะติดต่อเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ แมว สุนัข ไม่เพียงเท่านั้นยังติดในสัตว์ป่าอีกด้วยอย่างเช่นลิง สุนัขจิ้งจอก หรือค้างคาวเช่นเดียวกัน มันเป็นโรคร้ายที่เราจะต้องรีบสังเกตเนื่องจากหากแมวของเราติดเชื้อไวรัสดังกล่าวมันก็จะเข้าไปทำลายระบบประสาท แมวที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวนั้นจะมีอาการแสดงออกมาและจะเสียชีวิตภายในระยะเวลาอันสั้นเพียงแค่ 10 วันเท่านั้น โดยอาการของโรคนั้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะด้วยกันประกอบไปด้วยอาการเริ่มต้นนั่นก็คือจะมีไข้ ซึม รับประทานอาหารได้ไม่มาก ระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 2-3 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะที่ 2 เป็นระยะตื่นเต้นที่จะมีอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป และสุดท้ายจะเป็นระยะอัมพาตที่สัตว์เลี้ยงของเรานั้นจะอยู่นิ่งขยับตัวไม่ได้อีกต่อไป ส่วนใหญ่จะพบอาการทรงตัวผิดปกติ กลืนลำบาก น้ำลายไหลมาก และกลัวน้ำ 

ป้องกันแมวอย่างไรให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัส RABIES

       หากคุณกังวลว่าแมวของเรานั้นจะป่วยเป็น โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการพาลูกแมวไปทำวัคซีนเข็มแรกตอนอายุประมาณ 3 เดือน และทำวัคซีนเข็มที่ 2 เมื่อมีอายุครบ 6 เดือน จากนั้นก็ให้ทำการกระตุ้นวัคซีนเป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าจะเลี้ยงในบ้านแต่ก็ควรที่จะกระตุ้นวัคซีนเป็นประจำเพราะไม่แน่ว่าแมวของเราอาจจะไปกัดหนูที่ติดโรคดังกล่าวได้ และหากสงสัยว่าแมวกำลังป่วยเป็นโรคดังกล่าวให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันทีและแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพให้ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นประวัติสุขภาพหรือการทำวัคซีน 

 

 

เว็บบอล